ไพล หรือ ว่านไพล บรรเทาอาการอักเสบและอาการปวด และวิธีทำน้ำมันไพลแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

ไพล หรือ ว่านไพล  (Phlai , Cassumunar ginger , bongal root )
ชื่อวิทยาศาสตร์   Zingiber cassumunar  
ชื่อท้องถิ่น  ปูขมิ้น,ว่านไพล,ไพลเหลือง, ว่านปอบ
          นานมาแล้วเมื่อสมัยยังเป็นเด็ก สมุนไพรที่คุ้นเคยและอยู่ในวิถีชิวิตคือไพลนี่แหละ ไม่ว่าจะมีอาการเคล็ดขัดยอก  ปวดประจำเดือน ผดผื่นคัน ฯลฯ ปู่ย่าก็จะเตรียมไพลมาปรุงยา ไพลเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเป็นกอ เป็นพืชลงหัว  มีเหง้าใหญ่ เนื้อในสีเหลือง  มีกลิ่นหอม ใบเรียวยาวปลายแหลม ออกดอกรวมกันเป็นช่ออยู่บนก้านช่อดอก  สามารถขยายพันธุ์โดยเหง้าหรือแง่งซึ่งเป็นส่วนสำคัญของลำต้นใต้ดิน เป็นท่อนพันธุ์ในการปลูก หรือจะใช้เมล็ดก็ได้ ชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขัง  ปลูกกลางแจ้งต้องการแสงแดด
การเก็บเกี่ยว   ควรเก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบและดอกร่วงหมดหรือเก็บในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่รากและหัวมีการสะสมปริมาณสาระสำคัญไว้ค่อนข้างสูง  ตอนเก็บใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง ตัดรากฝอยออก เก็บเหง้าแก่เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี หลังจากปลูก

ไพล2

ต้น :  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร ทรงพุ่มกลม แตกกิ่งจำนวนมากทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม กิ่งก้านมีหนามแหลม ปลายหนามมีสีแดง ยาวประมาณ 2 นิ้ว
ใบ :  เดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนใบกลม ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอก :  ช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาวอมชมพู ยาวประมาณ 4-8 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวัน ออกดอกทั้งปี 
ผลและเมล็ด : เป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลรูปกลมรี มนรี และรูปใข่ ขนาดผลประมาณ 1-1.5 ซม. ผลอ่อนมีสีขาวอมชมพู แล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำ เนื้อผลจะกรอบแม้เมื่อสุกแล้ว ภายในตรงกลางผลจะมีเมล็ดแทรกรวมกันอยู่ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างแบน มีเปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล



สรรพคุณและการนำไปใช้    

--------------------- โฆษณา ---------------------



--------------------- โฆษณา ---------------------
  1. ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง  ให้นำหัวไพลมาฝนแล้วทาบริเวณที่มีอาการ หรือจะใช้เหง้าสด 1 แห่ง  นำมาฝานเป็นชิ้นบางๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ หรือนำมาตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยห่อประคบแล้วอังไอน้ำให้ความร้อนก่อนนำมาใช้ประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมและปวดเมื่อย  เวลาเช้า-เย็น  ถ้าเอาแบบเร่งด่วน ก็ฝนผสมกับน้ำทา วันละ 2-3 ครั้ง
  2. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้นท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ให้ใช้เหง้านำมาบดเป็นผงแล้วชงกับน้ำร้อนและผสมเกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา  
  3. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด ให้ใช้เหง้าสด 4-5 แว่นนำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ  เติมเกลือครึ่งช้อนชา  แล้วนำมารับประทานหรือจะฝานกับน้ำปูนใสรับประทานก็ได้
  4. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ใช้เหง้ามาบดทำเป็นผงผสมกับน้ำหรือจะใช้เหง้าสดนำมาล้างให้สะอาดแล้วทาบริเวณที่มีอาการ
  5. ใช้เป็นยาสมานแผล ใช้เหง้าสด 1 แง่ นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือและการบูรอย่างละครึ่งช้อนชา  แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนองวันละ 1 ครั้ง
  6. ช่วยรักษาอาการหอบหืด ใช้เหง้า 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี  อย่างละ 2 ส่วน  กานพลู  พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน  บดผสมรวมกันใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือจะผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2  ลูกกลอน รับประทานติดต่อกันจนกว่าจะอาการดีขึ้น
  7. ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น และเป็นยาช่วยสมานแผล ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมีน้ำมันหอมระเหย
  8. ช่วยขับระดูหรือประจำเดือนของสตรี และหลังคลอดบุตร ใช้ต้มน้ำอาบ
วิธีปรุงและวิธีใช้
     1. ส่วนประกอบน้ำมันไพล ไพลสดล้างแล้วปอกเปลือกหั่นแว่นบางๆ (200กรัม),ดอกกานพลูแห้ง ตำละเอียด (1.5กรัม) ,ขมิ้นชันสดไม่ปอก              เปลือก ล้างแล้วฝานเป็นแผ่นบางๆ(50กรัม) ,การบูร ต้องมีฝาปิดไว้ก่อนปรุง(0.5กรัม) ,น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100กรัม (หรือจะ              ใช้ทั้ง2ชนิดสัดส่วนอย่างละครึ่ง)
        วิธีทำ   เทน้ำมันมะพร้าวพร้อมกับน้ำมันพืช ตั้งไฟให้ร้อนแล้วเทไพลกับขมิ้นชันลงไปทอด ค่อยๆทอดอย่างใจเย็นไฟอ่อนๆ ประมาณ 20-25         นาที สังเกตสมุนไพรเริ่มเกรียมไพลจะมีสีน้ำตาลเข้มใช้ได้ ตักขึ้นพักไว้ในกระชอน สารจากสมุนไพรจะออกมาน้ำจะมีสีเหลืองๆ  แล้วให้นำ           กานพลูลงไปทอดด้วยไฟอ่อนสุด  ประมาณ 3-5 นาที  ปิดแก๊ส ตักกานพลูออก หลังกรองด้วยผ้าขาวบางแล้วรอให้พออุ่นให้ใส่การบูรลงไป         ห้ามใส่ตอนร้อนเพราะกลิ่นจะหาย แล้วคนๆให้การบูรละลาย รอจนกว่าน้ำสมุนไพรเย็นจึงนำไปบรรจุลงขวด  เก็บไว้ใช้นานๆใช้ทาถูเวลา               เคล็ดขัดยอก
         หมายเหตุ   การทอดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน จะใช้วิธีทอดเพื่อให้น้ำมันในสมุนไพรออกมา ซึ่งก็มีผลวิจัยรับรองว่าการทอดจะทำให้โมเลกุล          ที่อยู่ในเหง้าไพลออกมาได้เยอะมากกว่าซึ่งโมเลกุลตัวนี้มีฤทธิ์ในการบรรเทาปวดและแก้อาการอักเสบ และกานพลูขณะทอดจะไม่ทิ้งไว้              นานเพราะจะทำให้น้ำมันหอมละเหยในกานพลูจะหมดไปและกานพลูจะช่วยทำให้ชาช่วยลดประสิทธิภาพในอาการอักเสบและอาการปวด
  1. ลูกประคบ ตำไพลพอหยาบผสมการบูรสัดส่วน 1ใน 3 ของไพล เอาผ้าห่อทำเป็นลูกประคบ เวลาใช้ก็นำหม้อหรือปิ๊ปแล้วใช้เชือกมัดผ้ากับปากหม้อหรือปิ๊บหรือกระป๋องตั้งบนเตาไฟให้เดือด แล้ววางลูกประคบบนผ้าให้ร้อนทั่วๆ แต่อย่าให้ร้อนเกินไปจะเป็นอันตรายกับผิวได้ นำมาประคบประมาณ 15-20 นาที
  2. ฝานเป็นแว่น โดยวิธีการอบให้แห้งหรือตากแดดให้แห้ง ตากที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส
ข้อควรระวัง
  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และไม่ควรรับประทานไพลสดที่ยังไม่สกัดสารที่เป็นพิษต่อตับออกก่อน
  • ห้ามใช้ในเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์และสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตรห้ามรับประทาน  
  • ห้ามทาครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของไพลใกล้ขอบตา หรือเนื้อเยื่ออ่อน และบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล
ข้อมูลจาก   สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล,มูลนิธิหมอชาวบ้าน,ฐานข้อมูลสมุนไพรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
เรียบเรียงข้อมูลโดย  www.herbaltreatmentguru.com

Leave a Comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.